‘ผู้นำการศึกษาไทย’ 21 คน บินไกลถึงเกาหลีใต้ ศึกษา ‘หลักสูตร Mind Education’ เรียนรู้เรื่องโลกของจิตใจ นำไปใช้เปลี่ยนแปลงเยาวชน

 

เมื่อวันที่ 9-14 ตุลาคม ที่คริสตจักรข่าวประเสริฐซูวอน ประเทศเกาหลีใต้ ผู้นำด้านการศึกษาของประเทศไทย จำนวน 21 คน คือ 1.คุณสมหมาย พรมจุ้ย กรรมการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลหัวดง 2.คุณรัชดาภรณ์ พรมจุ้ย ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลหัวดง 3.คุณวิกรณ์ มากดี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม 4.คุณณิชารัศม์ คำมุลนา หัวหน้างานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน วิทยาลัยการอาชีพอุดรธานี 5.ศ.ดร.ปิยะดา อลิฌาณ์ ตันตสวัสดิ์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 6.คุณรัตน์นรี  วโรสุข ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช 7.ดร.พาหน ร่วมใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนคลองเคียนรัฐราษฎร์รังสรรค์ 8.คุณภาณุมาส ธรรมถาวรสกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหวาย 9.คุณกัญรัตน์ สฤษดิสุข ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพังงา 10.คุณณัฐชานันท์ สุกแสง ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพังงา 11.ดร.สุรีวัลย์ ลิ้มพิพัฒนกุล ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์แผนงานและโครงการ มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


12.คุณวีระศักดิ์ พุทธิไสย ผู้ประสานงานอาวุโสภาค 7 มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 13.คุณเมธาวิน สาระยาน ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 14.คุณทสพล แม้นเขียน หัวหน้างานกิจการนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 15.คุณพิษณุ เดชใด ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี 16.คุณสะอาด ศิริพฤกษ์ คณะกรรมการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี 17.คุณศุภชัย แสงเพชร อาจารย์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี 18.คุณพัชรินทร์ อยู่สิงห์โต อาจารย์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี 19.คุณสุนันทา เเพ่งผล อาจารย์โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย 20.คุณวิภาภัทร์ นิวาศะบุตร ผู้จัดการบริษัท
Syngenta Crop Protection Limited และ 21.คุณธิดาทิพย์ วิไลฤทธิ์ อาจารย์โรงเรียนขจรทรัพย์อำรุง ได้เข้าร่วมกิจกรรม IYF Mind Education Program เพื่อศึกษาและเยี่ยมชมการใช้หลักสูตร Mind Education หรือหลักสูตรเรื่องโลกของจิตใจ

ในช่วงเริ่มต้นผู้เข้าร่วมได้เข้าใจว่า การศึกษาที่ให้ความรู้อย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนคนหรือสังคมได้ แต่การศึกษาเกี่ยวกับจิตใจสามารถเปลี่ยนคนและสังคมได้

โดยการฟังบรรยายหลักสูตร Mind Education หลากหลายช่วง ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ความยากลำบากของประเทศเกาหลีใต้ รวมทั้งพัฒนาการความเจริญของประเทศซึ่งเชื่อมโยงกับการเรียนหลักสูตร Mind Education ว่า การมีจิตใจที่เปลี่ยนไปก็สามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตประเทศได้ ซึ่งหลักสูตร Mind Education จะให้ความสำคัญกับ

  1. การคิดไตร่ตรอง หรือการลองคิดอีกครั้ง
  2. การยับยั้งชั่งใจ และการปกครองใจของตนเอง
  3. การสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบตัว

ทั้งนี้ คนที่มีใจสว่างและอบอุ่นจะสามารถนำประเทศในอนาคตได้ โดยเฉพาะเรื่องการคิดเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับเยาวชนไทย วิทยากรสอนอย่างละเอียดว่า การคิดรอบแรกคือ ความคิดที่เกิดขึ้นแล้วเราตอบสนองมันทันที ส่วนความคิดรอบที่ 2 คือ การคิดอีกครั้งในทิศทางอื่น รวมทั้งการเปลี่ยนจิตใจที่ผู้เข้าร่วมรู้สึกประทับใจ “เมื่อเราเปลี่ยนคำพูดจิตใจเราก็จะเปลี่ยน เมื่อจิตใจเราเปลี่ยนการกระทำของเราก็จะเปลี่ยน และเมื่อการกระทำเปลี่ยนความสุขที่หายไปก็จะกลับคืนมาหาเราใหม่”

หลักสูตร Mind Education ประกอบด้วยการบรรยายเรื่องจิตใจ การฝึกจิตใจ การนำเสนอกรณีศึกษา และการอภิปราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่เกิดขึ้นจริงของการเปลี่ยนแปลงในบุคคล ครอบครัว ธุรกิจ และโรงเรียนได้รับการแบ่งปันผ่านการบรรยายโดยอาจารย์ซังฮุน ลี ที่มีลูกชายชื่อมิน ซบ ลี ได้เปลี่ยนจิตใจผ่านทางคำพูดของอาจารย์อ็อก ซู พาร์ค จนทำให้ลูกชายที่ถูกเรียกว่าเป็นออทิสติกเปลี่ยนมาเป็นเด็กปกติ สามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยและใช้ชีวิตที่มีความหวังอย่างสวยงามได้ และนายซอง กึน ลี CEO จาก บริษัท Shoealls ที่เคยมีชีวิตที่ล้มเหลวจนคิดฆ่าตัวตาย แต่ได้รับการจูงนำจากอาจารย์อ็อก ซู พาร์ค ให้ตั้งโรงงานรองเท้า จนปัจจุบันกลายเป็นบริษัทรองเท้าที่ประสบความสำเร็จ และมียอดขายสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเกาหลีใต้

นอกจากนี้ผู้นำทางการศึกษายังได้เยี่ยมชมโรงเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายลินคอล์น โรงเรียนต้นแบบที่ใช้หลักสูตร Mind Education ทำให้นักเรียนที่นี่มีจิตใจที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป คือไม่ใช่แค่เรียนเก่งเท่านั้น แต่มีความสามารถในการรับฟังที่มากกว่าเด็กทั่วไป จนผู้นำทางการศึกษาหลายคนอยากจะส่งลูกของตัวเองมาศึกษาที่โรงเรียนลินคอล์น สาขาประเทศไทยด้วย

สำหรับ อาจารย์อ็อก ซู พาร์ค ผู้ก่อตั้งคริสตจักรข่าวประเสริฐ (Good News Mission) อธิบายถึงหลักสูตร Mind Education ที่เริ่มต้นจากพระคัมภีร์ไบเบิลว่า ตนสอนนักเรียนและเยาวชนด้วยหลักสูตร Mind Education และไม่สามารถบอกคุณได้ว่าตนรู้สึกขอบคุณแค่ไหนที่สามารถให้ความรู้แก่ทุกคนที่เป็นตัวแทนผู้นำด้านการศึกษาของประเทศไทย แม้เราจะมองไม่เห็นจิตใจมนุษย์ แต่สามารถสัมผัสได้ ในฐานะที่ตนอ่านพระคัมภีร์มาก จึงได้พบว่า พระเจ้าทรงทราบดีว่ามนุษย์ไม่สามารถรักษาพระบัญญัติสิบประการได้ แต่ผู้คนในปัจจุบันกลับพยายามดิ้นรนเพื่อรักษาบัญญัติเหล่านั้น ทั้งนี้ หากมนุษย์สามารถรักษาธรรมญัตติเองได้อย่างสมบูรณ์ แล้วพระเยซูจะลงมาบนโลกนี้ทำไม เราต้องคิดถึงทบทวนคำถามนี้อย่างละเอียด

“เมื่อเราไม่สามารถรักษาบัญญัติสิบประการได้ เราจะสามารถเห็นและเชื่อว่าพระเยซูเสด็จมาและรับโทษบาปของเราบนไม้กางเขนได้ผ่านพระคำ โรม 3:24 ที่เขียนไว้ว่า เราได้รับการชำระให้ชอบธรรมแล้ว และบาปของเราได้รับการอภัยแล้ว ถ้าเราเชื่อพระคำนี้ได้นี่คือ การเชื่อในพระเจ้า ไม่ว่าฉันจะทำอะไร พระเจ้าก็อยู่กับฉัน “เราสามารถมีชีวิตที่มีความสุขได้เพราะพระเยซูทรงรับบาปทั้งหมดของเราและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เพราะพระองค์ทรงมีความรักให้กับมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้” อาจารย์อ็อก ซู พาร์ค กล่าว

ศ.ดร.ปิยะดา อลิฌาณ์ ตันตามสวัสดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

สำหรับช่วงการแบ่งปันความรู้สึกและสิ่งที่ได้รับจากการฟังบรรยาย ศ.ดร.ปิยะดา อลิฌาณ์ ตันตสวัสดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า “หลักสูตร Mind Education เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเยาวชนทั่วโลก โดยเฉพาะเยาวชนไทย สิ่งที่ประทับใจเป็นพิเศษคือส่วนที่พระเยซูทรงอภัยบาปทั้งหมดของเราบนไม้กางเขน ฉันคิดเสมอว่าฉันเป็นคนบาป และเมื่อฉันทำผิด ก็จะถามตัวเองว่า ‘ฉันไม่ควรทำสิ่งนี้ และทำไมฉันจึงทำเช่นนี้?’ ฉันเคยอ่านและได้ยินพระคัมภีร์มาก่อน แต่วันนี้ฉันเพิ่งเข้าใจถึงพระคำเหล่านี้อย่างชัดเจนจริงๆ ทำให้ตอนนี้ฉันเป็นคนชอบธรรมแล้ว และรู้สึกขอบคุณกับพระเจ้ามากๆ”

ในช่วงวันสุดท้ายหลังจากได้ฟังการบรรยายและเรียนรู้หลักสูตร Mind Education แล้ว ทางผู้นำด้านการศึกษา 4 แห่ง ได้แก่ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพังงา, วิทยาลัยการอาชีพอุดรธานี, โรงเรียนคลองเคียนรัฐราษฎร์รังสรรค์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานีร่วมเซ็น MOU กับโรงเรียนลินคอล์น เฮ้าส์ นานาชาติ ณ สาธารณรัฐเกาหลี (Lincoln Middle & High School)

ส่วนผู้นำการศึกษาจากสถาบันอื่นๆ อาทิ นายเมธาวิน สาระยาน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, ศ.ดร.ปิยะดา อลิฌาณ์ ตันตสวัสดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ดร.สุรีวัลย์ สุกแสง จากมูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนใจที่จะบรรจุหลักสูตร Mind Education ไปใช้ในสถาบันการศึกษา เพื่อให้เยาวชนทั้งหมดได้รับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังสำคัญของสังคมต่อไป