ผู้นำทางการศึกษา 6 จว. รวม 1,826 คน ร่วมงาน ELF ปลุกความหวังเปลี่ยนแปลงเยาวชน ด้วยหลักสูตร Mind Education

 

ช่วงเดือนกันยายน มูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ (International Youth Fellowship – IYF) ประจำประเทศไทย เดินสายจัดงานสัมมนา Education Leaders Forum ทั่วประเทศไทย จำนวน 6 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และสุโขทัย เพื่อแนะนำหลักสูตร Mind Education หรือหลักสูตรการศึกษาเรื่องโลกของจิตใจจากสาธารณรัฐเกาหลี ให้กับบุคลากรด้านการศึกษานำไปปรับใช้กับนักเรียน นักศึกษาในสังกัดที่ดูแล รวมผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 1,826 คน

นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก

นายสหวิช อภิชัยวิศรุตกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์

นายมนู พุกประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ตัวแทนนายสมศักดิ์ เทพสุทิน

นายโชคดี ศรัทธากาล ศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายธราธิป ทองเจิม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากแขกวีไอพีหลายคน อาทิ นายโชคดี ศรัทธากาล ศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี, นายอภินันท์ เผือกผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช, นายธราธิป ทองเจิม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา, นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก, นายสหวิช อภิชัยวิศรุตกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์, ผศ.ดร.กาญจน์สิริรักษา บุญเอี่ยม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย และนายมนู พุกประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ตัวแทนนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี

นายบวรทัช แจ้งจิต ชั้นมัธยมปลาย ร.ร.ลินคอล์น เฮาส์

ในช่วงแรกของกิจกรรมเปิดด้วยกรณีศึกษาจากนักเรียนโรงเรียนลินคอล์น เฮาส์ ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงจิตใจจากหลักสูตร Mind Education คือ นายบวรทัช แจ้งจิต ชั้นมัธยมปลาย ร.ร.ลินคอล์น เฮาส์ กล่าวว่า ตั้งแต่เด็กผมถูกพ่อตีมาตลอด และพ่อแม่ก็ชอบทะเลาะกัน ทำให้คิดว่าครอบครัวไม่ใช่ความสุขของผม จึงพยายามแสวงหาความสุขจากสิ่งต่างๆ ทั้งเล่นเกม สูบบุหรี่ กินเหล้า และเล่นการพนัน ทั้งยังไม่สนใจเรียน ไม่สนใจสอบ สุดท้ายต้องออกจากโรงเรียน

วันหนึ่งแม่ผมพบ ร.ร.ลินคอล์น เฮาส์ ผ่านเฟซบุ๊ก จึงตัดสินใจส่งผมมาเรียน ช่วงมาอยู่แรกๆ ยังคงเล่นเกม และไม่สนใจเรียนเหมือนเดิม นอกจากนี้ ผมยังเป็นคนไม่ชอบความล้มเหลว และอยากจะประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่ผู้ก่อตั้งโรงเรียน บอกกับผมว่า ผมเหมือนคนมือลีบที่พยายามโชว์มือข้างที่ปกติ และพยายามปกปิดส่วนที่พิการของตัวเอง ทั้งที่หากนำมือที่ลีบออกมาให้คนอื่นเห็น ก็จะได้รับการแก้ไข หมายความว่าผ่านทางความผิดพลาดของผม จะทำให้จิตใจของผมได้เรียนรู้และเติบโตไปเรื่อยๆ เมื่อได้ฟังอาจารย์พูดแล้วก็ทำให้ผมอยากจะทำสิ่งใหม่ๆ แม้จะผิดพลาดหลายๆ ครั้ง ก็ได้เรียนรู้ ทั้งการแสดงละคร เต้น และร้องเพลง ผมก็ลองทำทั้งหมด และเมื่อได้เปิดใจคุยกับพ่อ ผมก็ได้เข้าใจว่า ความจริงแล้วพ่อไม่ได้ต้องการตีผม แต่ที่ต้องตีเพราะพ่อไม่ต้องการให้ผมซ้ำรอยชีวิตที่ไม่ดีของเขา เมื่อได้เห็นจิตใจของพ่ออย่างชัดเจน ก็ทำให้จิตใจไหลเวียนกัน และทำให้ผมย้ายจิตใจออกมาจากเกมได้ เพราะความสุขที่แท้จริงของผมคือคนในครอบครัวที่คอยจูงนำ และดึงผมออกให้ห่างไกลจากสิ่งที่ไม่ดีกับชีวิตผม

ดร.ฮัก เชิล คิม ผู้ก่อตั้ง IYF ประจำประเทศไทย

ส่วนช่วงการบรรยาย Mind Education โดย ดร.ฮัก เชิล คิม ผู้ก่อตั้ง IYF ประจำประเทศไทย ได้พูดถึงชีวิตของโทมัส เอดิสัน นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ริเริ่มคิดค้นหลอดไฟ ว่า ตอนที่เอดิสันอายุ 4 ขวบ เขายังพูดไม่ได้ หมอบอกว่าเขาเป็นออทิสติก พอเรียนชั้นประถมศึกษา ด้วยความที่คิดไม่เหมือนคนอื่น จึงถูกไล่ออกด้วยเหตุผลที่ว่าโง่เกินไป ตอนแรกคุณแม่ก็ท้อใจ แต่เมื่อกลับมาคิดอีกครั้ง ได้คิดว่า “ฉันกำลังมองด้วยสายตาแบบไหน ถ้าเชื่อว่าลูกโง่ ก็โง่ ถ้าเชื่อว่าเป็นอัจฉริยะก็อัจฉริยะ” เพราะความเชื่อของคุณแม่โทมัส เอดิสัน จึงผลิตหลอดไฟจากไม้ไผ่สำเร็จ เขาใช้เวลากับการคิดค้นหาวัสดุทำไส้หลอดไฟ 25,000 ครั้ง ในขณะที่คนทั่วไปมองว่า “ล้มเหลว” แต่เขากลับพูดได้ว่า “กำลังเข้าใกล้ความสำเร็จ” ตอนห้องทดลองไฟไหม้ ขณะที่คิดค้นแผ่นเสียงโบราณและแบตเตอรี่ เขาสามารถพูดได้ว่า “มาดูความมหัศจรรย์ของการเผาครั้งนี้ ความล้มเหลวของฉันถูกเผาหมดแล้ว” ความเชื่อและความหวังเช่นนี้ของเขา เริ่มต้นจากคุณแม่

ดร.ฮัก เชิล คิม กล่าวต่อว่า กรณีศึกษาผมเอง มองนักศึกษาชายคนหนึ่งที่ชื่อกอล์ฟก็สิ้นหวัง เขาเป็นแค่เด็กเสพยา ขี้เหล้า แต่ตอนที่จัด World Camp อาจารย์อ็อก ซู พาร์ค ผู้ก่อตั้ง IYF บอกผมว่า “เขาเป็นดวงดาว” ตอนนั้นผมได้เห็นว่าผมมองกอล์ฟผิดไป และรับสายตาของอาจารย์อ็อก ซู พาร์ค เข้ามาแทนแม้พฤติกรรมเขาไม่เปลี่ยน แต่เมื่อผมมีความเชื่อและความหวัง สุดท้ายทุกอย่างก็เป็นไปตามนั้น เพราะปัจจุบันกอล์ฟก็เป็นดวงดาวจริงๆ ตามความเชื่อนั้น สิ่งที่สำคัญในการให้การศึกษาขึ้นอยู่กับว่าผู้นำการศึกษามองเด็กๆ แบบไหน หากมีความเชื่อและความหวัง เยาวชนเหล่านี้ก็สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้

จากนั้นเข้าสู่กรณีศึกษาการสอน Mind Education ให้กับนักเรียนลินคอล์น เฮาส์ (Students need life coach) เพื่อเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงจิตใจของนักเรียนผ่านหลักสูตร Mind Education ต่อมาเป็นช่วงห้องเรียนจำลอง (Teach & Meet their hearts) ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตร Mind Education คือ กิจกรรมทลายกำแพง ที่ชื่อว่า “กิจกรรม 3.3.3.” กิจกรรมนี้เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนรอบข้างดีมากขึ้น เพราะโดยปกติคนทั่วไปในยุคปัจจุบันจะไม่ค่อยมีการสื่อสารพูดคุย และทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในที่สุด ชั่วโมงนี้จะเริ่มต้นโดยให้ผู้เข้าร่วมได้นึกถึงคนหนึ่งที่อยากจะไหลเวียนจิตใจด้วย โดยทางเราจะมีโจทย์ให้ 3 หัวข้อคือ

1. สิ่งที่อยากจะขอโทษ 3 อย่าง

2. สิ่งที่อยากจะขอบคุณ 3 อย่าง

3. เขาสำคัญกับเราอย่างไร 3 อย่าง

เมื่อตอนที่ทำกิจกรรมนี้ผู้นำและบุคลากรทางการศึกษาหลายท่านได้มีโอกาสได้นึกถึงคนที่อยากจะพูดคุยสื่อสารมากที่สุด และได้โทรศัพท์ไปหาคนที่อยากจะบอก เพราะที่ผ่านมาไม่เคยได้พูดคำที่อยู่ในใจออกมาเลย ทำให้หลายครั้งไม่เข้าใจกัน และห่างเหินกัน แต่ผ่านทางกิจกรรมตรงนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นจิตใจและเข้าใจกัน ทำให้มีความสุขมากขึ้น

ช่วงสุดท้ายคือ การหารือถึงร่วมมือทางการศึกษา โดยมีสถาบันที่ลงนามสร้างความร่วมมือ (MOU) ทำกิจกรรมด้านการศึกษาต่อในอนาคต คือ ศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อต่อยอดทำกิจกรรมแก้ไขปัญหาเยาวชนตามที่ตั้งใจไว้ นอกจากนี้ ยังมีหลายองค์กรที่จะกลับไปปรึกษากับคณะผู้บริหารเพื่อวางแผนทำงานกับ IYF ทั้งการเซ็น MOU และเชิญ IYF ไปจัดกิจกรรมร่วมกันต่อไปในอนาคต เพราะผู้นำทางการศึกษาและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านเยาวชนเหล่านี้เล็งเห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า หลักสูตร Mind Education หรือเรื่องโลกของจิตใจ คือความหวังในการเปลี่ยนแปลงเยาวชนในอนาคต

น.ส.สุกัญญา อำไพพงษ์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2

ได้กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมว่ามีความประทับใจกิจกรรม 3-3-3 เป็นอย่างมากเนื่องจากทำให้เราได้มีโอกาสเปิดใจกับเพื่อนที่มาด้วยกัน และ เพื่อนอีกหลายหน่วยงานที่มาร่วมงานในวันนี้ได้รับรู้ถึงสิ่งที่พวกเขาเก็บไว้อยู่ในใจที่อยากจะขอโทษ อยากจะขอบคุณ หรือ แม้แต่ความสำคัญที่เราได้พบกันในวันนี้ และ สำหรับหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ดีมากสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งในส่วนขององค์กร ทั้งผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน หรือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่สำคัญที่สุดสามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียนได้เนื่องจากพื้นฐานของการสื่อสารคือ สร้างจิตใจให้กับนักเรียน ถ้านักเรียนมาสภาวะจิตใจที่ดีแล้ว เชื่อว่าเมื่อรากฐานจิตใจดี จะนำสู่การเป็นคนดี และเป็นเยาวชนที่ดีให้กับประเทศในอนาคตได้

น.ส.อังสุมารินทร์ ต๊ะอ้อม โรงเรียนสหคริสเตียน อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

กล่าวว่าประทับใจการเรียนการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางผู้จัดได้นำเสนอ ทั้งการแก้ปัญหาผ่านทางการเรียนรู้ด้านโลกของจิตใจซึ่งเป็นความจริงที่เด็ก ๆ หลายคนปฏิเสธ เชื่อว่าจะมีการต่อยอดกับทางโรงเรียนลินคอล์นต่อไป อยากให้เข้ามาจัดกิจกรรมให้กับทางโรงเรียนของตนซึ่งตั้งอยู่นอกเมือง มีนักเรียนที่ประสบปัญหาหลายอย่างค่อนข้างเยอะ เพราะส่วนตัวตนเป็นคุณครูฝ่ายปกครองด้วย พอได้มาเห็นว่าทางโรงเรียนลินคอล์น เฮาส์ จัดกิจกรรม Mindset แล้ว ทำให้เข้าใจว่าเด็กของเราสามารถสอนได้และเปลี่ยนแปลงได้ถ้าเขาเปิดใจที่จะยอมรับ และต้องมีบุคลากรที่จะเข้าดูแลในเรื่องนี้ด้วย วันนี้ได้รับความรู้มากด้วย ขอบคุณค่ะ

น.ส.เรวิสา แสงคำ ผู้อำนวยการกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบล บ้านนา อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย

กล่าวถึงการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ว่า ตนมีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักเรียนลินคอล์น ทำให้ตนยิ่งเห็นภาพของโรงเรียนชัดขึ้น เห็นได้ชัดว่าทางผู้จัดมีความรู้ความเข้าใจในตัวนักเรียนและเห็นคุณค่าของพวกเขา ทุกคนมีค่า มีความสามารถ ขอแค่เราเชื่อมั่น โดยเฉพาะพ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู ผู้ใกล้ชิด หากเชื่อว่าเด็กทุกคนมีค่าและพร้อมที่จะพัฒนาได้ หากทั้งฝ่ายผู้ปกครอง คุณครู และเด็กมีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้พูดคุยกันมากยิ่งขึ้น นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และยังประทับใจกิจกรรมที่ทางโรงเรียนยินดีที่จะช่วยหลือสังคม ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานไหน ๆ ก็ตาม ทาง อบต. กองการศึกษาเองก็มีศักยภาพที่จะรวมรวบนักเรียน จัดโครงการอบรบหรือทำกิจกรรมดี ๆ เพื่อนักเรียน มุ่งเน้นการร่วมกันแก้ปัญหา ตนอยากนำแนวคิดที่ได้รับในครั้งนี้ไปพัฒนาด้านการศึกษา และอยากทำงานร่วมกันกับทางมูลนิธิฯ ในอนาคตต่อไปค่ะ