เหล่าผู้นำการศึกษากว่า 570 คน เปิดใจ Mind Education เติมความหวังเปลี่ยนแปลงเยาวชน

 

เมื่อวันที่ 15-17 สิงหาคม มูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ (International Youth Fellowship – IYF) ประจำประเทศไทย เดินสายจัดงานสัมมนา Education Leaders Forum ใน 3 จังหวัด คือ ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ เพื่อแนะนำหลักสูตร Mind Education หรือหลักสูตรการศึกษาเรื่องโลกของจิตใจจากสาธารณรัฐเกาหลี ให้กับบุคลากรด้านการศึกษานำไปปรับใช้กับเด็กนักเรียน นักศึกษาในสังกัดที่ดูแล มีผู้อำนวยการโรงเรียน และบุคลากรด้านการศึกษา จากทั้ง 3 จังหวัดเข้าร่วมกว่า 600 คน นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก นางพรเพชร เขมวิรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์, ดร.ศศิธร สุวรรณพูล รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดตาก, นายกรณพงศ์ คงปาน รองนายกเทศมนตรีนครแม่สอด และ ดร.สมศักดิ์ เอี่ยมดี ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร

นางพรเพชร เขมวิรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์

ดร.ศศิธร สุวรรณพูล รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดตาก

นายกรณพงศ์ คงปาน รองนายกเทศมนตรีนครแม่สอด

ดร.สมศักดิ์ เอี่ยมดี ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร

ในช่วงแรกของกิจกรรมเปิดด้วยกรณีศึกษาจากนักเรียนโรงเรียนลินคอล์น เฮาส์ ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงจิตใจจากหลักสูตร Mind Education โดย น.ส.สุชานันท์ จะขุ่ย (น้องดา) อายุ 15 ปี ชั้นมัธยมต้น ร.ร.ลินคอล์น เฮาส์ กล่าวว่า หนูเสียคุณแม่ไปตั้งแต่อายุ 3 ขวบ จากนั้นพ่อก็แต่งงานมีภรรยาใหม่ตอนอายุ 5 ขวบ ทำให้มีความน้อยใจ พอช่วงอยู่มัธยมหนูเองก็เริ่มโหยหาความสุขจากเพื่อนๆ หรือแฟนมากขึ้น ด้วยความที่ว่าอยู่ในวัยอยากรู้อยากลอง จึงเสพกัญชาหรือดื่มเบียร์ หนักเข้าก็หนีเที่ยวกลางคืน ไม่ฟังพ่อแม่ สุดท้ายก็โดนเพื่อนหักหลัง และโดนแฟนทิ้งในวันเดียวกัน ความคิดของหนูตอนนั้นรู้สึกว่า เพื่อน แฟน และครอบครัว ไม่ใช่ความสุขเลย

น.ส.สุชานันท์ จะขุ่ย (น้องดา) อายุ 15 ปี ชั้นมัธยมต้น ร.ร.ลินคอล์น เฮาส์

ต่อมาญาติมาแนะนำร.ร.ลินคอล์น เฮาส์ ว่าสอนเกี่ยวกับเรื่องโลกของจิตใจที่ทำให้เยาวชนมากมายได้รับการเปลี่ยนแปลง คุณพ่อเองก็ส่งหนูมาเรียนลินคอล์นแบบไม่คิดอะไรขอแค่ลูกสาวฉันเปลี่ยนแปลงก็พอ ช่วงแรกๆ ที่หนูเข้ามาเรียนลินคอล์นหนูเองก็เข้าใจไม่ได้ว่าทำไมจะต้องตื่นเช้า ทำไมต้องนั่งเรียน หรือทำไมต้องฟังบรรยาย บางครั้งก็มีความคิดเข้ามาว่าทำไมสถานการณ์ไม่เป็นอย่างที่ฉันคิด จนเริ่มมีความคิดที่สิ้นหวังเข้ามาเรื่อยๆ แล้วคนอย่างฉันมันจะเปลี่ยนแปลงได้ไหม แต่ผู้อำนวยการโรงเรียนบอกกับหนูว่า ถ้าจิตใจเปลี่ยน ชีวิตก็เปลี่ยน หนูเลยรู้สึกว่า อ่อ! แค่ฉันเปลี่ยนจิตใจชีวิตฉันก็เปลี่ยน และคุณครูก็เน้นย้ำกันหนูว่า ความคิดของหนูเองมันไม่ได้ถูกต้องเสมอไป ความคิดของหนูก็เหมือนเมล็ดที่โตขึ้นเรื่อยๆ หนูเองก็กลับไปคิดว่าชีวิตของฉันที่ผ่านมาเป็นเพราะความคิดเล็กๆ ที่ชอบคิดเองเออเอง

“สุดท้ายความคิดที่หนูปลูกมันก็ทำลายชีวิตหนู หนูรู้สึกว่าการที่หนูได้มาเรียนลินคอล์นก็มีกิจกรรมหลายๆ อย่างที่หนูได้ทำเช่น การเต้นที่ไม่ชอบ แต่พอได้ลองเปิดใจและลองทำสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบหนูเองก็กลับมีความสุขมากๆ ที่สำคัญคือหนูได้รู้ว่า ในตอนที่มีเพียงแค่ความต้องการของตัวเองก็เหมือนรถที่กำลังเหยียบคันเร่งแต่ไม่มีเบรค แต่ที่นี่มีคุณครูที่คอยใส่เบรคให้ คอยตักเตือนหรือคอยสอนกับใจของหนู หนูรู้สึกขอบคุณมากที่ได้เรียนเรื่องโลกของจิตใจ” น.ส.สุชานันท์ กล่าว

ดร.ฮัก เชิล คิม ผู้ก่อตั้ง IYF ประจำประเทศไทย

ส่วนช่วงการบรรยาย Mind Education โดย ดร.ฮัก เชิล คิม ผู้ก่อตั้ง IYF ประจำประเทศไทย ได้พูดถึงชีวิตของโทมัส เอดิสัน นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ริเริ่มคิดค้นหลอดไฟ ว่า ตอนที่เอดิสันอายุ 4 ขวบ เขายังพูดไม่ได้ หมอบอกว่าเขาเป็นออทิสติก พอเรียนชั้นประถมศึกษา ด้วยความที่คิดไม่เหมือนคนอื่น จึงถูกไล่ออกด้วยเหตุผลที่ว่าโง่เกินไป ตอนแรกคุณแม่ก็ท้อใจ แต่เมื่อกลับมาคิดอีกครั้ง ได้คิดว่า “ฉันกำลังมองด้วยสายตาแบบไหน ถ้าเชื่อว่าลูกโง่ ก็โง่ ถ้าเชื่อว่าเป็นอัจฉริยะก็อัจฉริยะ” เพราะความเชื่อของคุณแม่โทมัส เอดิสัน จึงผลิตหลอดไฟจากไม้ไผ่สำเร็จ เขาใช้เวลากับการคิดค้นหาวัสดุทำไส้หลอดไฟ 25,000 ครั้ง ในขณะที่คนทั่วไปมองว่า “ล้มเหลว” แต่เขากลับพูดได้ว่า “กำลังเข้าใกล้ความสำเร็จ” ตอนห้องทดลองไฟไหม้ ขณะที่คิดค้นแผ่นเสียงโบราณและแบตเตอรี่ เขาสามารถพูดได้ว่า “มาดูความมหัศจรรย์ของการเผาครั้งนี้ ความล้มเหลวของฉันถูกเผาหมดแล้ว” ความเชื่อและความหวังเช่นนี้ของเขา เริ่มต้นจากคุณแม่

ดร.ฮัก เชิล คิม กล่าวต่อว่า กรณีศึกษาผมเอง มองนักศึกษาชายคนหนึ่งที่ชื่อกอล์ฟก็สิ้นหวัง เขาเป็นแค่เด็กเสพยา ขี้เหล้า แต่ตอนที่จัด World Camp อาจารย์อ็อก ซู พาร์ค ผู้ก่อตั้ง IYF บอกผมว่า “เขาเป็นดวงดาว” ตอนนั้นผมได้เห็นว่าผมมองกอล์ฟผิดไป และรับสายตาของอาจารย์อ็อก ซู พาร์ค เข้ามาแทนแม้พฤติกรรมเขาไม่เปลี่ยน แต่เมื่อผมมีความเชื่อและความหวัง สุดท้ายทุกอย่างก็เป็นไปตามนั้น เพราะปัจจุบันกอล์ฟก็เป็นดวงดาวจริงๆ ตามความเชื่อนั้น สิ่งที่สำคัญในการให้การศึกษาขึ้นอยู่กับว่าผู้นำการศึกษามองเด็กๆ แบบไหน หากมีความเชื่อและความหวัง เยาวชนเหล่านี้ก็สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้

จากนั้นเข้าสู่กรณีศึกษาการสอน Mind Education ให้กับนักเรียนลินคอล์น เฮาส์ (Students need life coach) เพื่อเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงจิตใจของนักเรียนผ่านหลักสูตร Mind Education

ต่อมาเป็นช่วงห้องเรียนจำลอง (Teach & Meet their hearts) ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตร Mind Education คือ กิจกรรมทลายกำแพง ที่ชื่อว่า “กิจกรรม 3.3.3.” กิจกรรมนี้เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนรอบข้างดีมากขึ้น เพราะโดยปกติคนทั่วไปในยุคปัจจุบันจะไม่ค่อยมีการสื่อสารพูดคุย และทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในที่สุด ชั่วโมงนี้จะเริ่มต้นโดยให้ผู้เข้าร่วมได้นึกถึงคนหนึ่งที่อยากจะไหลเวียนจิตใจด้วย โดยทางเราจะมีโจทย์ให้ 3 หัวข้อคือ

  1. สิ่งที่อยากจะขอโทษ 3 อย่าง
  2. สิ่งที่อยากจะขอบคุณ 3 อย่าง
  3. เขาสำคัญกับเราอย่างไร 3 อย่าง

เมื่อตอนที่ทำกิจกรรมนี้ผู้นำและบุคลากรทางการศึกษาหลายท่าน ได้มีโอกาสได้นึกถึงคนที่อยากจะพูดคุยสื่อสารมากที่สุด และได้โทรศัพท์ไปหาคนที่อยากจะบอก เพราะที่ผ่านมาไม่เคยได้พูดคำที่อยู่ในใจออกมาเลย ทำให้หลายครั้งไม่เข้าใจกัน และห่างเหินกัน แต่ผ่านทางกิจกรรมตรงนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นจิตใจและเข้าใจกัน ทำให้มีความสุขมากขึ้น

ช่วงสุดท้ายคือ การหารือถึงร่วมมือทางการศึกษา ระหว่าง IYF กับ หน่วยงานและสถาบันต่างๆ ซึ่งมีหลายสถาบันที่ลงนามเพื่อสร้างความร่วมมือ (MOU) เพื่อทำกิจกรรมด้านการศึกษาต่อในอนาคต

สัมภาษณ์

นางสายใจ มะลิวัลย์ ชำนาญการพิเศษ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวุ้งกะสัง ต.โป่งน้ำร้อน จ. กำแพงเพชร

นางสายใจ มะลิวัลย์ ชำนาญการพิเศษ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวุ้งกะสัง ต.โป่งน้ำร้อน จ. กำแพงเพชร กล่าวว่า เข้าร่วมการอบรมครั้งนี้ ให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ เป็นโครงการที่เหมาะสำหรับเด็กชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งโครงการนี้สามารถทำให้ดึงเด็ก ๆ ที่กำลังจะหลงผิดกลับขึ้นมาได้ เป็นโครงการระบบช่วยเหลือนักเรียน ทำให้นักเรียนสามารถกลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ โดยไม่สายเกินไป อยากให้โครงการนี้เข้าสู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของแต่ละโรงเรียนต่อไป

นางภัชษร พิศมัย รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 กิตติขจร จ. ตาก

นางภัชษร พิศมัย รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 กิตติขจร จ. ตาก กล่าวว่า หลังจากได้เข้าร่วมและได้ฟังบรรยายจากท่านวิทยากรและเด็ก ๆ ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงที่มาแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวมาเล่าสู่ผู้เข้าอบรม เห็นได้ชัดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดีจริง ๆ เป็นกิจกรรมที่ได้ชุบชีวิตลูก ๆ นักเรียนที่มีปัญหาครอบครัว การเรียน หรือเด็กที่หลงผิดมา จะนำแนวทางการสอนที่ได้อบรมไปปฏิบัติ นอกจากจะช่วยนักเรียนเราได้ ยังช่วยลูกหลานเราได้อีกด้วย เป็นกิจกรรมที่ดีที่ควรสานต่อไป เพราะเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือเยาวชนและประเทศชาติ ต้องขอขอบคุณกิจกรรมจากมูลนิธิฯ มาก

นายณรงค์ นาคชัยยะ ศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

นายณรงค์ นาคชัยยะ ศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า
เคยเข้าร่วมงานกับทาง IYF ตั้งแต่เป็นศึกษาธิการจังหวัดตาก ซึ่งได้มีโอกาสฟังแนวคิดและศึกษาจากหนังสือของมูลนิธิ ทราบว่า IYF ได้ศึกษาเรื่องของจิตใจ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนและทุก ๆ คนหากเข้าใจและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น คนเรามักมีตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง จึงตัดสินผู้อื่นว่าผิดอย่างง่าย ๆ โดยไม่นึกถึงเหตุผลที่ทำให้เขาทำแบบนั้น ในตอนขับรถหากเจอผู้ที่ขับช้ากว่าก็จะบอกว่าขวางทาง โดยไม่ได้คิดว่าผู้ขับอาจเป็นผู้สูงอายุหรือรถยนต์อาจมีปัญหา หากพบผู้ที่ขับไวกว่าก็จะตำหนิว่าขับเร็ว โดยไม่ได้คิดว่าเขาอาจจะมีนัดสำคัญที่ต้องไปให้ทันเวลาหรืออาจมีผู้ป่วยในรถเช่นกัน ปัจจุบันจะพบเด็กที่มีพฤติกรรมไม่ดี ก็ตัดสินเด็กทันทีว่าเป็นคนไม่ดี แต่หากลองหาสาเหตุที่ทำให้เขาเป็นแบบนั้น พร้อมทั้งช่วยกันแก้ปัญหา เด็กก็สามารถกลับมาเป็นคนดีและทำประโยชน์ให้กับสังคมได้

นอกจากนี้ยังประทับใจการบรรยายเรื่องความผิดหวัง เหมือนนักประดิษฐ์หลอดไฟเอดิสัน ซึ่งผิดหวังมากว่า 25,000 ครั้ง แต่ไม่ท้อแท้และสู้ต่อจนสามารถประดิษฐ์หลอดไฟได้ ซึ่งสามารถนำเรื่องนี้ไปใช้ในชีวิตได้

รวมถึงกิจกรรม 3-3-3 ซึ่งให้ขอโทษ ขอบคุณคนที่มีความสำคัญที่สุด สิ่งนี้จะทำให้เราอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยไม่ขัดแย้งกับใคร และช่วงเรื่องราวของเด็กนักเรียนลินคอล์น ที่ได้ศึกษาแนวคิดเรื่องโลกแห่งจิตใจและทำให้เปลี่ยนความคิดและกลายมาเป็นคนดีได้