ผู้อำนวยการโรงเรียน บุคลากรการศึกษาทั่วอีสาน กว่า 900 คน เข้าร่วมการประชุมด้านการศึกษา ประทับใจ หลักสูตร Mind Education เล็งนำไปปรับใช้แก้ปัญหาเยาวชน   

 

เมื่อวันที่ 7-9 สิงหาคม มูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ (International Youth Fellowship – IYF) ประจำประเทศไทย เดินสายจัดงานสัมมนา Education Leaders Forum ใน 3 จังหวัด คือ อุดรธานี ขอนแก่นและมหาสารคาม เพื่อแนะนำหลักสูตร Mind Education หรือหลักสูตรการศึกษาเรื่องโลกของจิตใจจากสาธารณรัฐเกาหลี ให้กับบุคลากรด้านการศึกษานำไปปรับใช้กับเด็กนักเรียน นักศึกษาในสังกัดที่ดูแล มีผู้อำนวยการโรงเรียนจากทั้ง 3 จังหวัดเข้าร่วมกว่า 309 คน และบุคลากรด้านการศึกษาอื่นๆ เข้าร่วมอีก 576 คน รวม 885 คน นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นางคณิตา ราษฎร์นุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และนางฉัฐพร งามเกลี้ยง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) มาร่วมงานด้วย

นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม

นางคณิตา ราษฎร์นุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี

นางฉัฐพร งามเกลี้ยง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)

ในช่วงแรกของกิจกรรมเปิดด้วยกรณีศึกษาจากนักเรียนโรงเรียนลินคอล์น เฮาส์ ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงจิตใจจากหลักสูตร Mind Education

ส่วนช่วงการบรรยาย Mind Education โดย ดร.ฮัก เชิล คิม ผู้ก่อตั้ง IYF ประจำประเทศไทย ได้พูดถึงชีวิตของโทมัส เอดิสัน นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่ริเริ่มคิดค้นหลอดไฟ ว่า ตอนที่เอดิสันอายุ 4 ขวบ เขายังพูดไม่ได้ หมอบอกว่าเขาเป็นออทิสติก พอเรียนชั้นประถมศึกษา ด้วยความที่คิดไม่เหมือนคนอื่น จึงถูกไล่ออกด้วยเหตุผลที่ว่าโง่เกินไป ตอนแรกคุณแม่ก็ท้อใจ แต่เมื่อกลับมาคิดอีกครั้ง ได้คิดว่า “ฉันกำลังมองด้วยสายตาแบบไหน ถ้าเชื่อว่าลูกโง่ ก็โง่ ถ้าเชื่อว่าเป็นอัจฉริยะก็อัจฉริยะ” เพราะความเชื่อของคุณแม่โทมัส เอดิสัน จึงผลิตหลอดไฟจากไม้ไผ่สำเร็จ เขาใช้เวลากับการคิดค้นหาวัสดุทำไส้หลอดไฟ 25,000 ครั้ง ในขณะที่คนทั่วไปมองว่า “ล้มเหลว” แต่เขากลับพูดได้ว่า “กำลังเข้าใกล้ความสำเร็จ” ตอนห้องทดลองไฟไหม้ ขณะที่คิดค้นแผ่นเสียงโบราณและแบตเตอรี่ เขาสามารถพูดได้ว่า “มาดูความมหัศจรรย์ของการเผาครั้งนี้ ความล้มเหลวของฉันถูกเผาหมดแล้ว” ความเชื่อและความหวังเช่นนี้ของเขา เริ่มต้นจากคุณแม่

ดร.ฮัก เชิล คิม กล่าวต่อว่า กรณีศึกษาผมเอง มองนักศึกษาชายคนหนึ่งที่ชื่อกอล์ฟก็สิ้นหวัง เขาเป็นแค่เด็กเสพยา ขี้เหล้า แต่ตอนที่จัด World Camp อาจารย์อ็อก ซู พาร์ค ผู้ก่อตั้ง IYF บอกผมว่า “เขาเป็นดวงดาว” ตอนนั้นผมได้เห็นว่าผมมองกอล์ฟผิดไป และรับสายตาของอาจารย์อ็อก ซู พาร์ค เข้ามาแทนแม้พฤติกรรมเขาไม่เปลี่ยน แต่เมื่อผมมีความเชื่อและความหวัง สุดท้ายทุกอย่างก็เป็นไปตามนั้น เพราะปัจจุบันกอล์ฟก็เป็นดวงดาวจริงๆ ตามความเชื่อนั้น สิ่งที่สำคัญในการให้การศึกษาขึ้นอยู่กับว่าผู้นำการศึกษามองเด็กๆ แบบไหน หากมีความเชื่อและความหวัง เยาวชนเหล่านี้ก็สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้

จากนั้นเข้าสู่ช่วงห้องเรียนจำลอง (Teach & Meet their hearts) เพื่อแนะนำถึงการนำหลักสูตร Mind Education ที่ใช้ในโรงเรียนลินคอล์น เฮาส์ โดยเริ่มต้นกิจกรรม Mind Recreation ที่มีชื่อว่า Can You Hear My Voice ได้ยินไหมหัวใจฉัน เป็นกิจกรรมที่สอดแทรกเรื่องราวของจิตใจ การหลุดพ้นออกจากความคิด และรับฟังเสียงของคนอื่นๆ ซึ่งผ่านทางกิจกรรมนี้ทำให้เราได้ค้นพบปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้ความสัมพันธ์ของคนเราถูกตัดขาดจากกันและกัน อย่างเช่นปัญหาอาการติด ครอบครัว การเรียน ซึมเศร้า หรืออีกมากมายเป็นปัญหาที่เกิดจากการสัมพันธ์ที่ถูกตัดขาด

โดยสิ่งที่จะทำให้คนเราเกิดการเปลี่ยนแปลง และใช้ชีวิตที่มีความสุขได้นั้นสำคัญมากที่สุดคือการที่คนเรามีการสื่อสารที่ดี โดยได้ยกตัวอย่างนักเรียนลินคอล์นที่เด็กๆ แต่ละคนมีปัญหาที่แตกต่างกันมา แม้จะพยายามเปลี่ยนแปลงพวกเขาด้วยกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และความรุนแรงต่างๆ แต่สิ่งเหล่านั้นก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิต หรือทำให้เขามีความสุขได้

ทั้งนี้ สิ่งที่แตกต่างของโรงเรียนลินคอล์น เฮาส์ คือ หลักสูตร Mind Education ที่มีทั้งการบรรยายกิจกรรมสันทนาการ และการพูดคุยเรื่องของใจ โดยครั้งนี้เราได้ยกตัวอย่างเรื่อง ลมกับพระอาทิตย์ แข่งกันทำให้ชายคนหนึ่งที่สวมเสื้อคลุมอยู่ให้ถอดออกให้ได้ ซึ่ง ลม ก็พยายามเป่าแรงๆ แต่ชายหนุ่มกลับดึงเสื้อคลุมเข้ามาแน่นมากกว่าเดิม ตรงกันข้ามกับพระอาทิตย์ที่ไม่ต้องเปล่งแสงที่รุนแรง แต่ค่อยๆ ให้แสงถ่ายทอดความอบอุ่น สดท้ายชายคนนี้ก็ถอดเสื้อออกเองอัตโนมัติ เช่นกันกับนักเรียนของเรา เราไม่ได้มีกฎเกณฑ์ หรือข้อบังคับให้กับเขา แต่ว่าสื่อสาร และพูดคุยจิตใจกับนักเรียน จิตใจของเขาก็จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลง

จบท้ายด้วยกิจกรรมทลายกำแพง ที่ชื่อว่า “กิจกรรม 3.3.3.” กิจกรรมนี้เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนรอบข้างดีมากขึ้น เพราะโดยปกติคนทั่วไปในยุคปัจจุบันจะไม่ค่อยมีการสื่อสารพูดคุย และทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในที่สุด ชั่วโมงนี้จะเริ่มต้นโดยให้ผู้เข้าร่วมได้นึกถึงคนหนึ่งที่อยากจะไหลเวียนจิตใจด้วย โดยทางเราจะมีโจทย์ให้ 3 หัวข้อคือ

  1. สิ่งที่อยากจะขอโทษ 3 อย่าง
  2. สิ่งที่อยากจะขอบคุณ 3 อย่าง
  3. เขาสำคัญกับเราอย่างไร 3 อย่าง

เมื่อตอนที่ทำกิจกรรมนี้ผู้นำและบุคลากรทางการศึกษาหลายท่าน ได้มีโอกาสได้นึกถึงคนที่อยากจะพูดคุยสื่อสารมากที่สุด และได้โทรศัพท์ไปหาคนที่อยากจะบอก หลายท่านก็ซาบซึ้งจนน้ำตาไหล เพราะไม่เคยได้พูดคำที่อยู่ในใจออกมาเลย ทำให้หลายครั้งไม่เข้าใจกัน และห่างเหินกัน แต่ผ่านทางกิจกรรมตรงนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นจิตใจและเข้าใจกัน ทำให้มีความสุขมากขึ้น

นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม

ช่วงสุดท้ายคือ การหารือถึงร่วมมือทางการศึกษา ระหว่าง IYF กับ หน่วยงานและสถาบันต่างๆ ซึ่งมีหลายสถาบันที่ลงนามเพื่อสร้างความร่วมมือ (MOU) เพื่อทำกิจกรรมด้านการศึกษาต่อในอนาคต เช่น นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม

สัมภาษณ์

สำหรับ นายบำรุง ประภาษา คุณครูโรงเรียนน้ำซึมวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี เขต 6

ผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษและทำหน้าที่ดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในโรงเรียน กล่าวว่ารู้สึกยินดีที่ได้รับเชิญจากทางโรงเรียน Lincoln House School ให้มาเข้าร่วมประชุมสัมมนาในวันนี้ เล็งเห็นว่าเป็นงานที่ดีมากเพราะคนที่ไม่เคยประสบปัญหาหรือไม่เคยสัมผัสกับเด็กนักเรียนที่มีปัญหาเขาก็จะรู้สึกว่าจะเอาอะไรก็ไม่รู้มาพูดไม่เข้าใจ แต่ถ้าเป็นคุณครูที่อยู่กับปัญหาของเด็กๆ อย่างผม จะเห็นช่องทางแสงสว่างทันทีเลยว่านี่คือทางออกที่ดีสำหรับเด็กบางกลุ่มในโรงเรียนที่ควรได้รับการช่วยเหลือ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมมองหาหลักสูตรแบบนี้มานานมากและไม่เคยคิดว่าจะมีหลักสูตรนี้ด้วยซ้ำ ไม่เคยคิดว่าจะมีหน่วยงานไหนหรือผู้เชี่ยวชาญท่านใดที่จะให้ความสนใจในเรื่องนี้

โดยส่วนตัวแล้ว เมื่อตนประสบปัญหากับเด็กๆ ตนก็ไม่รู้ว่าจะไปต่ออย่างไร ครั้งนี้หลักสูตร Mind Education ตอบโจทย์ว่า เราไม่ต้องรอให้เด็กเกิดปัญหาก็ได้เราสามารถนำหลักสูตรนี้ไปให้เด็กปกติกก่อนได้เช่นกัน ซึ่งก่อนที่เขาจะเข้ามาเรียนก็สามารถเอาหลักสูตรเรื่องจิตใจให้เขาได้รับรู้ก่อน พอเขาทราบและเข้าถึงในเรื่องของจิตใจเป็น เขาจะได้รู้จักเห็นใจคนอื่น พอเขารู้จักเห็นใจคนอื่น ไม่มองที่ตัวแองมาก เขาก็สามารถที่จะไม่คิดทำอะไรที่มันนอกกรอบได้ และในส่วนของกิจกกรมผมชอบทุกกิจกรรมเลยครับ ถ้ามีสาธิตด้วยจะชอบมากเลยครับ หากผมเป็นท่านผู้บริหารโดยตรงผมจะสามารถฟันธงได้ตรงนี้เลยครับว่าผมจะทำอะไร ทั้งนี้ก็ขอนำไปปรึกษากับฝ่ายบริหารก่อนครับว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ผมอยากจะนำหลักสูตรนี้ไปใช้กับนักเรียนที่เข้ามาใหม่ในทุกๆ ปี นักเรียน ม.1 และ ม.4 ที่เข้าใหม่ได้เริ่มเรียนก่อน เรียนในลักษณบังคับเรียนสัก 10 ชั่วโมงแรก ซึ่งไม่ต้องเรียนวิชาอื่นให้เรียนวิชาพวกนี้ก่อนใน 10 สัปดาห์แรก และ 10 สัปดาห์หลังค่อยบล็อคครอสเรียนในวิชาอื่น เราจะเรียนวิชาความเป็นคนก่อน อยากให้มีความเป็นคนก่อน และก็จะสอดแทรกกับกิจกรรมต่างๆ ของทางโรงเรียน กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลดเวลาเรียน หรือกิจกรรมจากความถนัดความสนใจของโรงเรียนแล้วแต่ระดับของหลักสูตรที่เขาสามารถจัดลงได้

ด้าน น.ส.ชวนคิด โพธิ์แหบ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สพม. อุดรธานี ผู้แทนท่านผู้อำนวยการเขต กล่าวว่า กิจกรรมที่รับฟังถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดี และยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับเด็กที่มีปัญหา ให้ได้รับการช่วยเหลือดูแล การบรรยายจากท่านประธานมูลนิธิ ก็รู้สึกชื่นชอบมากเช่นกัน ท่านพูดถึงเด็กที่มีปัญหา จากตอนแรกท่านก็ยังไม่ไว้ใจ แต่สุดท้ายแล้วการให้โอกาสคนถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ท่านมองเห็นถึงจุดนี้ ก็เลยชื่นชมในความคิดของท่าน และท่านยังกล่าวอีกว่า ถ้าความคิดของเราเปลี่ยน ชีวิตเราก็เปลี่ยน สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่ชอบมากสำหรับการบรรยายพิเศษของวันนี้ค่ะ คิดว่าอยากนำหลักสูตรMind Education ไปปรับใช้พัฒนาตนเองในเบื้องต้นก่อน เปลี่ยนแปลงตัวเองในจุดไหนบ้าง เพื่อที่จะต่อยอดสำหรับคนรอบข้างต่อไป

ขณะที่ นายพีรวัส มุ้งทอง ครูประจำโรงเรียนบ้านม่วงโป้ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กล่าวว่า ผมรู้สึกประทับใจที่ว่าเด็กๆ สมัยนี้ที่ประสบปัญหาหลายๆ อย่างทางด้านของสังคม ด้านครอบครัว อย่างน้อยเขายังมีทางเลือกผู้ที่คอยช่วยเหลือเขาและมีคนที่คอยปรับ คอยให้โอกาสแก่เขา ตลอดเวลา ซึ่งเปรียบเทียบกับรุ่นยุคของผมจะไม่มีสถาบันอะไรแบบนี้เลย ยินดีและขอแสดงความโชคดีกับเด็กยุคนี้ด้วย มากๆ ครับ ส่วนช่วงการฟังบรรยายรู้สึกประทับใจตรงที่ ผู้ก่อตั้งได้บรรยายถึงโทมัส เอดิสัน และ สิ่งที่ได้รับรู้เป็นอย่างมากเลยคือความตั้งใจของผู้ก่อตั้งที่อยากจะเข้ามาปรับและอยากให้เด็กกลุ่มนี้มีโอกาสได้เปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้น ได้เห็นคุณค่าของตัวเอง รู้ถึงคุณค่าของตัวเองมากขึ้น ผมอยากนำหลักสูตรไปปรับใช้กับนักเรียนดีมากๆ อย่างเช่นเราคุยกับเด็กแล้วไม่รู้ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เพราะสุดท้ายแล้วเด็กก็กลับไปที่เดิม ก็เป็นเหมือนเดิม อย่างน้อยๆ สุดท้ายแล้วเราจะคิดถึงว่ามันยังมีโรงเรียน Lincoln House School อยู่ เราได้คิดต่อว่าเราไม่ได้สู้คนเดียว เราไม่ได้เป็นฝ่ายที่ต้องสู้เพื่อให้โอกาสเด็กคนเดียว แต่เรายังมีสถาบันที่เขาเห็นและพร้อมให้โอกาสเด็กนักเรียนอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีผลงานเป็นรูปธรรมอย่าง ดีใจกับเด็กรุ่นนี้ด้วยครับ

สิ่งที่อยากจะบอกกับทีมงานก็คือ ไม่ว่าครั้งหนึ่ง หรือ ความรู้สึกนึงที่แวบเข้ามาในความคิดของเราว่า พอเถอะ ปล่อยให้เขาเป็นแบบนั้นไปหนะดีแล้ว อย่าคิดแบบนั้นเลยครับ ทำแบบที่ทำอยู่ให้โอกาสเขา รักเขา หวังดีกับเขา แล้วสักวันหนึ่ง หากเขาโตขึ้นมา เขาจะกลายเป้นคนที่มีคุณภาพมากๆ เหมือนน้องโดนัทครับ