You need to add a widget, row, or prebuilt layout before you’ll see anything here. 🙂

“การบริหารคน สำหรับคนที่ไม่ใช่ HR” เป็นทักษะที่ต้องมีในปี 2022 สำหรับทุกองค์กร เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่เข้าทำงานเพราะถูกใจองค์กร ถูกใจเงินเดือน หรือถูกใจในสวัสดิการ แต่กว่าครึ่งที่ต้องลาออกไปเพราะรู้สึกไม่ถูกใจ “หัวหน้างาน”  วันนี้ Healing Mind จะมาขอเผย 5 เคล็ดลับที่หัวหน้างานควรรู้เพื่อรักษาคนเก่งของคุณให้สามารถอยู่กับองค์กรให้ได้นานที่สุด

1.หัวหน้าที่ดี คือหัวหน้าที่ยอมรับข้อบกพร่องและพร้อมรับฟัง 

หัวหน้าหลายคนเติบโตในองค์กรมาด้วยความสามารถในการทำงาน แต่หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ทำให้ลูกน้องลาออกบ่อยๆ หรือไม่อยากเข้าใกล้ คุณจะต้องออกมายอมรับอย่างเต็มออกว่า “คุณไม่ใช่หัวหน้าที่ดี” เมื่อคุณมีทัศนคติว่า “หัวหน้าก็ผิดได้” จะทำให้คนรอบตัวคุณอยู่ร่วมกับคุณได้อย่างสบายใจมากขึ้น เมื่อคุณรู้ข้อบกพร่องของตัวเองแล้ว คุณจะสามารถรับฟังคำแนะนำจากคนรอบข้างได้ง่ายขึ้น และเมื่อคุณเริ่มเห็นจุดอ่อนของตัวเองทีละข้อ คุณจะค่อยๆ ปรับปรุงตัวเพื่อที่จะเป็นหัวหน้าที่ดีได้

2. ความสัมพันธ์ในทีมสำคัญไม่แพ้ความสามารถ 

หัวหน้าที่ดีไม่ใช่หัวหน้าที่เก่งแต่เป็นหัวหน้าที่นึกถึงใจและเข้าใจจิตใจของลูกน้องเป็นอย่างดีว่าตอนนี้เขาคิดหรือรู้สึกอย่างไร สิ่งที่ลูกน้องคิดอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง แต่หากคุณทราบถึงเส้นทางที่ทำให้เขามีกระบวนการความคิดแบบนี้อย่างชัดเจน คุณจะเป็นคนที่ทำให้เขาออกจากปัญหานั้นได้ และเมื่อลูกน้องสัมผัสได้ถึงการช่วยเหลือของคุณ การทำงานเป็นทีมก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

3. คิดอย่างรอบคอบและรับผิดชอบการตัดสินใจ

ในฐานะหัวหน้าย่อมต้องมีภาระหรือความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น นั่นคือผลลัพธ์ที่เกิดจากการตัดสินใจของตัวคุณ ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือคือทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดรอบด้านถึงผลดี ผลเสียที่จะเกิดขึ้นในการตัดสินใจในแต่ละอย่าง หากคุณได้คิดอย่างลึกซึ้งแล้วยังเกิดข้อผิดพลาดที่คาดไม่ถึงก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าเสียใจ แต่หากเกิดข้อผิดพลาดโดยที่ใครๆ ก็รู้อยู่แล้วว่าจะต้องเกิดขึ้นหากคุณตัดสินใจแบบนี้ ก็อาจทำให้ความไว้วางใจของลูกน้องที่มีต่อหัวหน้าลดลงอย่างแน่นอน

4.สื่อจิตใจให้อีกฝ่ายรู้อย่างชัดเจน

หลายครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างลูกน้องและหัวหน้างาน คือ การสั่งงานโดยที่ลูกน้องไม่ได้เข้าใจวัตถุประสงค์ของงานอย่างชัดเจน จึงทำให้งานนั้นออกมาต่างกับสิ่งที่หัวหน้าวางแผนไว้ในหัว และจบลงด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันจนพนักงานไม่พอใจและลาออกไป ดังนั้นการสื่อจิตใจให้เห็นถึงความต้องการอย่างชัดเจนจะทำให้ลูกน้องทำงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การช่วยเหลือมากก่อนการสั่งงาน : ในฐานะหัวหน้าเป็นเรื่องปกติที่ลูกน้องจะเข้าหาเพื่อสอบถามเรื่องงานหรือเรื่องเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญคือความพร้อมที่จะช่วยคิดแก้ปัญหานั้น หัวหน้าส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับการยอมรับเพราะไม่มีเวลาที่จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานของลูกน้อง และได้แต่บอกไปว่า “ไปคิดมาก่อน” ซึ่งความจริงแล้วหากลูกน้องนำงานที่ได้รับมอบหมายมาหาจะหมายความว่า เขาคิดมาแล้วแต่ไม่สามารถแก้ไขได้จึงเข้ามาขอคำปรึกษา ดังนั้นหัวหน้าจะต้องมีใจที่ “พร้อมต่อการช่วยเหลือ” ถึงแม้ว่าบางงานคุณจะยังคิดไม่ออกก็ตาม